สกุล Gymnocalycium แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากว่า 120 ชนิดและอีกหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล Gymnocalycium มาจากภาษากรีก หมายถึง ตาเปลือย (naked bud) แคคตัสในสกุลนี้เป็นสกุลที่น่าสนใจ เพราะมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันออกไปและมีดอกที่มีสีสันสวยงาม บางชนิดอาจมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 7.5 เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium baldianum แต่บางชนิดก็มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium spegazzinii
แคคตัสในสกุล Gymnocalycium มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายๆพื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินา โบลิเวีย ปารากวัย และอุรุกวัย พบได้ในหลายพื้นที่ ทั้งในที่ที่มีระดับความสูง 3500 เมตร ในทุ่งหญ้า หิน ดิน ทราย บางชนิดที่มีรูปร่างอ้วน กลม เคยพบว่าถูกฝังอยู่ในทรายตลอดฤดูร้อน แคคตัสในสกุลนี้เลี้ยงง่าย สามารถออกดอกได้เมื่ออายุ 2–3 ปี
Gymnocallycium Bruchii
Credit : www.pinterest.com
GymnoCallycium Baldianum
Credit : www.pinterest.com
Gymnocalycium Mihanovichii
ยิมโนคาไลเซียม (Gymnocalycium) เป็นแคคตัสยอดนิยมที่มีผู้สนใจอยู่มากมายทั่วโลก แต่ชนิดที่นิยมและเป็นที่รู้จักในบ้านเรา ได้แก่ Gymnocalycium Mihanovichii, Gymnocalycium Bruchii, Gymnocalycium Baldianum แต่ละชนิดมีรูปทรงดอกและสีสันสวยงามแตกต่างกันไป
ยิมโนคัลไลเซี่ยม มิฮาโนวิชชิอาย (Gymnocalycium Mihanovichii)
ยิมโนคัลไลเซี่ยม มิฮาโนวิชชิอาย (Gymnocalycium Mihanovichii) เป็นยิมโนสายพันธ์ยอดนิยมที่นักพัฒนาสายพันธ์ (Breader) ในไทยและต่างประเทศได้พัฒนาจนเกิดเป็นยิมโนด่างโคลนต่าง ๆ มากมาย ซึ่งยิมโนมิฮาโนะเป็นกระแสแรงกระแสหนึ่งของแคคตัสในเมืองไทย ที่มีผู้เล่นมากมาย มีราคาแพงและสร้างความนิยมการเลี้ยงแคคตัสให้มีความคึกคักสายพันธ์หนึ่งทีเดียว
ตำนานของ Mihano
ระหว่าง ค.ศ. 1903-1905 อัลเบิร์ตโต ฟริค (Alberto Fric) ได้พบกับกระบองเพชรปริศนาต้นหนึ่งในบริเวณ Rio Paraguay ใกล้กับ Pueto Casado ประเทศปารากวัย ต่อมาฟริคพบว่ากระบองเพชรต้นนั้นเป็นกระบองเพชรชนิดใหม่ของโลก จึงได้นำมาตั้งชื่อว่า Gymnocalycium mihanovichii ตามชื่อของนิโคลัส มิฮาโนวิช (Nicolas Mihanovich) เจ้าของเรือชาวยูโกสลาเวียที่ได้ให้เขาอาศัยโดยสาร
ลักษณะของ Mihano
- มีลำต้นเดี่ยวกลมแป้น มีสันหนามแยกออกจากกันเป็นแนวสันพู จำนวนพูแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด
- ร่องพูลึกและมีลักษณะชั้นรอยหยักคล้ายซี่โครง
- ลักษณะผิวต้นเป็นเกล็ดละเอียดเล็กคล้ายผิวกำมะหยี่ มีสีตั้งแต่เขียว จนถึงเขียวอมม่วงเข้ม สำหรับยิมโนสายดั้งเดิม สำหรับยิมโนด่างจะมีสีต่าง ๆ ได้แก่ แดง ส้ม ชมพู เหลือง เขียวอ่อน
- ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ปกคลุมด้วยปุยสีขาวหรือสีเหลือง
- มีทั้งหนามยาว หนามสั้น และไม่มีหนาม
- ดอกออกบริเวณตุ่มหนามที่ยอด ดอกเป็นสีขาวถึงชมพู สามารถบานได้ 3-4 วัน
- เมื่อติดฝักก้านดอกจะพองออกเป็นกะเปาะสีเขียวอมฟ้าและจะมีสีม่วงอมแดงเมื่อฝักแก่
- ภายในฝักมีเมล็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อนถึงสีดำเป็นจำนวนมาก
- มักออกดอกช่วงฤดูร้อน เลี้ยงง่ายแม้อยู่ในที่แสงแดดไม่จัดก็เจริญเติบโตได้ดี
ตำนานของยิมโนหัวสี
ตำนานของ ‘ยิมโนหัวสี’ มีที่มาจากนักเล่นแคคตัสชาวญี่ปุ่น มีบันทึกในวารสารแคคตัสและซัคคิวเลนท์ของสหรัฐฯ เมื่อปี 1996 ตอนหนึ่งว่าคุณเอย์จิ วาตานาเบะ (Eiji Watanabe) และคุณคิโตะ (K. Kitoh) ได้ทำฟาร์มกระบองเพชรและพบยิมโนที่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงเมื่อปี 1940 พวกเขาตั้งชื่อยิมโนต้นนี้ว่า ‘อันโจ นิชิกิ’ (‘Unjo-nishiki’) แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งพบอีกต้นหนึ่งที่เป็นสีแดงสดในอีกแปดปีต่อมา ‘ฮิโบตัน’ (Hibotan) หรือยิมโนหัวสีสีแดง ต้นนี้นี่เองที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการกระบองเพชรทั่วโลก จากญี่ปุ่น มันเดินทางไปไกลถึงเกาหลี ยุโรป และสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นๆมากมาย เช่น ‘Red Cap’, ‘Nishiki’, ‘Optima Rubra’, ‘Ruby’ หรือ ‘Red Hibotan’ และได้รับความนิยมมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
มิฮาโนด่าง (หรือยิมโนด่าง)
นอกจากยิมโนหัวสีแล้ว ยังมี ‘มิฮาโนด่าง’ ที่มีสีเขียวแทรกอยู่ในลำต้น ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้เองโดยไม่ต้องกราฟบนตอ มิฮาโนด่างพวกนี้เดิมมีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘Hibotan Nishiki’ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และแบ่งแยกลักษณะต่างๆออกมาอีกมากมาย ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวจะตั้งเป็นชื่อ “โคลน” เช่น Tiger Eyes, Day Dream, Fire Work, Canelian เป็นต้น ส่วนยิมโนด่างที่ไม่มีการตั้งชื่อมักเรียกกันว่า “ไม้เมล็ด”
มิฮาโนด่างหรือยิมโนด่างแต่ละโคลนจะมีลักษณะพิเศษที่เหมือนกันซึ่งจะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก แต่จะมีความด่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละต้น ซึ่งความสมมาตรและความสม่ำเสมอของลวดลายนั้นเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้และพบได้น้อย ดังนั้นการประกวดไม้ด่างส่วนใหญ่จึงมีเกณฑ์ตัดสินว่าต้นที่ได้รางวัลนั้นต้องเป็นต้นที่มีลายด่างกระจายทั่วลำต้น เพราะเป็นลักษณะเด่นที่ดูสวยงาม อีกทั้งยังหาได้ยากอีกด้วย
ข้อสังเกต
- วิธีการขยายพันธุ์มิฮาโนด่างที่ใช้เวลาสั้นและดีที่สุดก็คือ “การชำหน่อ” เพราะมี % ด่างใกล้เคียงกับต้นแม่สูงมาก (ไม่น้อยกว่า 90%)
- ในขณะที่การเพาะเมล็ดนั้นเปิดโอกาสให้เราได้ลักษณะการด่างที่แปลกไปจากต้นพันธุ์เดิมก็จริง แต่ก็มีโอกาสให้ % ด่างน้อยกว่าต้นแม่
- เมล็ดที่เก็บจากต้นแม่ที่ด่างดีมาก ก็อาจจะได้ต้นด่างเพียงแค่หนึ่งหรือสองต้นจากเมล็ดจำนวนนับพันเมล็ด
ด้วยเหตุที่การพัฒนาสายพันธ์ใช้เวลานานกว่าจะได้โคลนใหม่ ๆ เกิดขึ้น และการเพาะเมล็ดในระยะถัดไปก็มีความยากที่จะได้ลูกด่างที่มีเอกลักษณ์เหมือนต้นแม่ ดังนั้น Mihano ด่างหรือยิมโนด่างจึงมีราคาค่อนข้างแพง ยิ่งหากมีลักษณะพิเศษ เช่น Cristata ยิ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากโอกาสในการเป็นคริส (Cirstata) มีน้อยมาก ถือเป็น Rare Item จึงเป็นของหายาก มีราคาแพง
ยิมโนด่าง Cristata โคลน Black Pearl จากฟาร์มเพชรแต้มสี
Credit : sites.google.com
Credit : www.facebook.com/sarapancactus
Credit : petchtamsee.com
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตแตกง่าย