Lophophola หรือโลโฟเป็นกระบองเพชรไม่มีหนาม แถมยังตัวนุ่มนิ่ม น่ากอด..ไม่ใช่ละ ตัวนิ่มอ้วนและนุ่มมือมาก ๆ สาว ๆ ที่ไม่ชอบหนาม มักจะหลงรักโลโฟได้ง่าย ๆ เพราะนอกจากตัวนิ๊มนิ่มแล้ว ยังมีดอกน่ารัก ๆ สีหวาน ๆ ตั้งแต่สีขาวครีม สีชมพูอ่อน ไปจนถึงสีชมพูเข้ม ซึ่งสีของดอกสามารถบอกได้ว่าเป็นโลโฟชนิดไหนอีกด้วย ไม่หลงรักไม่ได้แล้ว
สายพันธุ์โลโฟ แบ่งเป็น 5 ชนิด แต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป
- Lophophora williamsii วิลเลี่ยมซิอาย หรือวิลเลี่ยม
- Lophophora diffusa ดิฟฟูซ่า
- Lophophora koehresii เคอเรสซิอาย
- Lophophora fricii ฟริซิอาย หรือฟริซิ
- Lophophora jourdaniana จอแดเนียน หรือจอแดน
แต่การจะแยกโลโฟว่าเป็นชนิดไหน เป็นเรื่องค่อนข้างยาก ต้องดูจาก รูปทรงลำต้น หน้ายับหรือหน้าตึง สีผิว สีดอกและสีฝัก ฉะนั้นเห็นแว๊บแรกจะให้ตอบว่าเป็นโลโฟชนิดไหน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ใครที่เริ่มเลี้ยงโลโฟมักจะสับสนและมักจะพบคำถามที่ถามบ่อยว่า “ต้นนี้คือโลโฟชนิดไหน” ในหน้า face book อยู่เสมอ ๆ
นอกจากธรรมชาติของโลโฟที่ดูยากว่าเป็นชนิดไหนแล้ว ในปัจจุบันบางส่วน ผู้เลี้ยงทั้งสมัครเล่นและมือเก่ามักมีการผสมข้ามไปข้ามมา จนลูกที่ออกมากลายเป็นลูกผสมไปหมด แต่ก็ยังมีนักเลี้ยงหลายคนที่ไม่ผสมข้ามสายพันธุ์ เพื่อรักษาสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้ (อ่านสายพันธุ์ Lophophola)
โดยส่วนตัวแล้ว เท่าที่เลี้ยงกระบองเพชรมาหลายปี โลโฟเป็นกระบองเพชรที่เลี้ยงยากที่สุด เป็น item ท้าทาย ซึ่งหลายครั้งก็ทำเอาแทบถอดใจอยู่เหมือนกัน เพราะสภาพภายนอกดูด้วยสายตาค่อนข้างยากว่าตอนนี้นางสมบูรณ์ดีหรือกำลังป่วย ทดสอบด้วยการบีบยิ่งไม่ตอบ เพราะตัวนางนิ่มเป็นปกติอยู่แล้ว เลี้ยงมาเป็นปีบางทีก็ไม่บอกลากันซักคำ มาเจอกันอีกทีก็ตัวเหลวไปเฉยๆ คือน้องเน่าในไปแล้ว ดังนั้น จึงใช้วิธีกำหนดวันรดน้ำกันเป๊ะ ๆ ว่ากี่วันรดที ซึ่งจะกี่วันรดนั้น ก็ขึ้นกับดินว่าโปร่งมากโปร่งน้อยแค่ไหน และถ้าช่วงไหนฝนตกบ่อย ๆ ก็จะทิ้งระยะการรดน้ำไปอีกหลายวัน เพื่อไม่ให้ดินชื้นเป็นเวลานาน ๆ
Lopho เจ้าซาลาเปาอ้วนที่ใคร ๆ พากันหลงรัก
โลโฟชอบตัวแห้ง ๆ จึงชอบดินโปร่งระบายน้ำได้ดี
เนื่องจากน้อง ๆ โลโฟที่บ้านพากันป่วยตายไปหลายต้นในเวลาใกล้ๆ กัน จึงฉุกคิดได้ว่าน่าจะถึงเวลาเปลี่ยนดินให้น้องเสียทีได้แล้ว ความจริงควรเปลี่ยนดินทุก 1 ปีเป็นอย่างน้อย วันนี้จึงจับน้องๆ เรียงแถวแคะออกจากกระถาง เคาะดินเบา ๆ เอาแช่น้ำยาฆ่าเพลี้ยแป้งซะหน่อย ไหน ๆ ก็เปลือยรากแล้ว
อาการที่เห็น ตัวยุบ ผิวย่น ช้ำในจนเห็นสีส้มๆ ออกมาที่ผิวภายนอก
ดินแน่นและแฉะเกินไป และน่าจะมีเพลี้ยแป้งปะปนอยู่
ตัวเหลือง..รากเปื่อยยุ่ย..เพราะจมอยู่ในความชื้นนานเกินไป
หวังว่าจะรักษาขีวิตไว้ได้ ..
เพราะจับทุกต้นมาเปลี่ยนดิน จัดแบบโปร่งที่สุดในสามโลกให้
ข่าวล่าสุดคือต้นนี้นางกลับดาวไปแล้วนะคะ เพราะอย่างที่บอกกว่าจะรู้ว่าป่วย
อาการก็มักจะโคม่าแล้ว จึงไม่สามารถยื้อชีวิต
แต่นางก็ช่วยชีวิตเหล่าโลโฟที่เหลือเอาไว้
เพราะได้รับการเปลี่ยนดินกันถ้วนทั่วทุกกระถาง
*กลับดาว ย่อมาจาก กลับดาวแคคตัส พูดง่าย ๆ คือตายแล้ว
เป็นการใช้คำที่อ่อนโยนไม่ทำร้ายจิตใจผู้เลี้ยงจนเกินไป
ดินปลูกโลโฟ
โลโฟชอบดินโปร่งมากกว่าแคคตัสชนิดอื่น ๆ ส่วนผสมที่ใช้ ดินใบก้ามปูร่อน 1 ส่วน หินภูเขาไฟและวัสดุปลูกอื่น ๆ 3 ส่วน
วัสดุผสมดินปลูก Cactus มีอะไรบ้าง
การนำวัสดุปลูกชนิดต่างๆ มาผสมในดินก็เพื่อให้ดินมีความโปร่งร่วน มีช่องอากาศมากขึ้น ทำให้ดินปลูกระบายน้ำได้ดี ไม่แฉะและชื้นนานเกินไป วัสดุที่นิยมนำมาผสมในดินปลูกระบองเพชร ได้แก่
- หินภูเขาไฟ (Pumice)
- เพอร์ไรท์ (Perlite)
- เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)
- ดินญี่ปุ่น
- ทรายหยาบ (ทรายก่อสร้าง)
นอกจากส่วนผสมดังกล่าวแล้ว ก็อาจผสมปุ๋ยเกร็ดละลายช้า (ออสโมโค้ท)
และสตาร์เกิลจีลงไปด้วยเพื่อจำกัดเพลี้ยะและแมลงศัตรูแคคตัส
บทความที่เกี่ยวข้อง เว็บสล็อตแตกง่าย 2021 ไม่ผ่านเอเย่นต์
- สายพันธุ์ lophophola
- สูตรดินปลูกแคคตัส
Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ