- Lophophora แคคตัสในสกุลนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล Lophophora มาจากภาษากรีก หมายถึงการผลิตดอกออกผลที่ส่วนยอด (crest – bearing)
- Lophophora เป็นแคคตัสที่ไม่มีหนาม ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม อ่อนนุ่ม สีเหลืองซีดจนถึงสีเขียวอมฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 13 เซนติเมตร มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม
- เป็นระบบรากสมบูรณ์ ลำต้นเป็นสัน 5 – 13 สัน ตุ่มหนามเป็นปุย สีขาว อยู่ห่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน
- ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลืองครีม และสีชมพู จะมีเส้นสีเข้มตรงกลางตามความยาวของกลีบดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร
- ดอกจะเกิดบริเวณยอดที่มีสีขาวปกคลุม
- ฝักมีลักษณะยาว รี ค่อนข้างเล็ก เมื่อแก่จะเป็นสีขาว สีชมพู หรือสีแดง
- แคคตัสในกลุ่ม Lophophora มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเช่น ในรัฐเท็กซัส
โลโฟ (Lophophora) มีกี่ชนิด
ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์จำแนกสายพันธุ์โลโฟออกเป็น 5 ชนิด ประกอบด้วย
- Lophophora williamsii ในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหลาย varieties
- Lophophora diffusa
- Lophophora koehresii เดิมจัดไว้ในกลุ่ม diffusa บางตำราใช้ชื่อ Lophophora diffusa var. koehresii
- Lophophora fricii เดิมจัดไว้ในกลุ่ม diffusa บางตำราใช้ชื่อ Lophophora diffusa var. fricii
- Lophophora jourdaniana เดิมจัดไว้ในกลุ่ม williamsii บางตำราใช้ชื่อ Lophophora williamsii var.
- jourdaniana สล็อต pg เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโลโฟชนิดไหน
การจะจำแนกโลโฟออกว่าเป็นชนิดไหนค่อนข้างเป็นเรื่องยาก ซึ่งการดูจากรูปลักษณะของลำต้นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกได้ ต้องมีรายละเอียดอื่นประกอบ เช่นสีผิวของลำต้น แว๊ก ขนาด หน่อ สีดอก กลีบดอก ลักษณะของฝัก จึงจะตอบได้ว่าเป็นโลโฟชนิดไหน
- วิลเลี่ยม (Lophophora williamsii)
สีผิว เขียวอมเทา สีดอก ชมพูอ่อนมีแถบเข้มคาดกลางตามแนวยาว กลีบเลี้ยง สีเขียว ปลายดอกมนฝัก สีชมพูอ่อนปากเมล็ดที่ขั้ว มีลักษณะเปิดกว้างขั้วเมล็ด กางออก ไม่งุ้มเข้าแบบตัว koehresiiผิวเมล็ด ขรุขระ เล็กน้อย ไม่เป็นหนามแหลมเหมือนใน fricii และ diffusa |
- ดิฟฟูซ่า (Lophophora diffusa)
สีผิว เขียวอมเหลือง สีดอก ขาว กลีบเลี้ยง เขียวสีฝัก ขาวปากเมล็ด รูปตัววี (ปากเมล็ดเปิดกว้างกว่าในตัว fricii)ผิวเมล็ด ขรุขระ เป็นหนามแหลวเหมือนเปลือกทุเรียน |
- เคอเรสซิ (Lophophora koehresii)
ผิวสีเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมครีม กลีบเลี้ยงโทนน้ำตาล ดอกของ koehresii มักเรียวยาว แคบ และปลายแหลม เมื่อดอกบานมักจะบานอย่างเต็มที่จนกลีบดอกงอนออก ฝัก มีลักษณะเป็นกระเปาะ สีฝักสามารถไล่โทนได้ตั้งแต่ขาวถึงชมพูเข้มปากเมล็ดที่ขั้ว มีลักษณะเปิดกว้างมากที่สุด จนเกือบเป็นสี่เหลี่ยมขั้วเมล็ด พับ งุ้มเข้าไม่กางออกแบบตัว williamsiiผิวเมล็ด ขรุขระ ไม่เป็นหนามแหลมเหมือนใน fricii แต่จะเหมือนใน williamsiiรากแก้ว มักมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับโลโฟตัวอื่น ๆ |
- ฟริซซี่ (Lophophora fricii)
สีผิว เขียวอมเทา สีดอก ชมพู และสีขาวใน var. albiflora กลีบเลี้ยง เขียวสีก้านเกสรตัวเมีย เหลืองสีฝัก ชมพูปากเมล็ด รูปตัววี |
- จอแดน (Lophophora jordaniana)
สีผิว เขียวเข้ม สีดอก ชมพู กลีบเลี้ยง เขียวก้านเกสรดอกสีชมพูเข้ม เอกลักษณ์ที่ใช้จำแนก Jordaniana ออกจากโลโฟชนิดอื่นผิวเมล็ด ขรุขระ ไม่เป็นหนามแหลมเหมือนใน fricii แต่จะเหมือนใน williamsii |
ข้อแนะนำในการเลี้ยงโลโฟ
โลโฟเป็นกระบองเพชรที่ไม่มีหนาม ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากเลี้ยงกระบองเพชรแต่ไม่ชอบหนาม นอกจากจะไม่มีหนามมากวนใจแล้ว โลโฟยังตัวอ้วน ๆ ป่อง ๆ นุ่มนิ่ม น่ารัก แถมมีดอกสีหวานๆ เวลาออกดอกจะดูน่ารักเป็นพิเศษ
โลโฟเป็นไม้ที่เลี้ยงไม่ง่ายนัก เพราะมักจะเดาทางไม่ถูก ดูไม่ค่อยออกว่าให้น้ำเยอะไปหรือน้อยไปหรือพอดี ต้องคอยสังเกตบ่อย ๆ บางทีดูอยู่ทุกวัน พอเช้านี้กลายเป็นต้นเหลวไปแล้วก็มี บางครั้งจับดูตัวนิ่ม ๆ กลัวจะขาดน้ำ ก็รดน้ำซ้ำ เลยกลายเป็นเน่าไปซะอีก เอาเป็นว่าตามบทความต่าง ๆ บอกวิธีเลี้ยงไว้บวกกับคำแนะนำที่ได้จาก Social ดังนี้
- โลโฟชอบดินโปร่งมากถึงมากที่สุด สูตรดินที่เหมาะกับโลโฟคือดินผสมสำหรับแคคตัสทั่วไป 1 ส่วนมาผสมหินภูเขาไฟเพิ่มอีก 2 ส่วน เพราะโลโฟชอบดินโปร่งกว่าแคคตัสชนิดอื่น บางสวนถ้ารื้อกระถางโลโฟออกมาจะเห็นว่าแทบไม่มีดินเลย มีแต่หินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นสไตร์การเลี้ยงของแต่ละสวน
- โลโฟชอบดินแห้ง เว้นระยะให้น้ำโลโฟนานกว่ากระบองเพชรชนิดอื่น เพื่อให้ดินแห้งก่อนจะรดน้ำครั้งถัดไป (ประมาณ 7-15 วัน) ทั้งนี้ ต้องพิจาณาดินประกอบด้วย เช่นถ้าดินโปร่งมากมีส่วนผสมของดินน้อย การรดน้ำอาจจะถี่กว่านี้ เช่น 5 วันครั้ง
- ได้รับแสงเพียงพอ โลโฟชอบแดดก็จริง แต่อาจต้องพลางความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ให้ ถ้าแดดแรงเกินไปอาจจทำให้ผิวไหม้เป็นแผลได้ และการออกแดดต้องค่อยๆ นำออกแดดทีละน้อย (เทรนแดด)
เรื่องที่ต้องระวังสำหรับโลโฟ
- โลโฟมีผิวบาง ขีดขวนเป็นแผลได้ง่าย ถ้าเป็นแผลแล้วไม่หาย ต้องรอให้ไม้โต แผลจึงจะไล่ลง หน้าไม้จึงจะกลับมาสวย ซึ่งใช้เวลาเป็นปี สิ่งขีดข่วนส่วนใหญ่จะเป็น เล็บ ฟอร์เซป (คนเลี้ยงแคคตัสจะใช้ฟอร์เซปในการคีบเมล็ด) และหินโรยหน้า แนะนำว่าหินโรยควรเลือกชนิดกลมมน
- ต้นนิ่มเป็นเรื่องปกติของโลโฟ รดน้ำใหม่ก็กลับมาตึง แต่ต้องระวังเวลาที่อดน้ำไปนาน ๆ ถ้ารดน้ำมากไปอาจจะตัวแตกได้
- โลโฟไวต่อไรแดงมาก ๆ และกว่าจะรู้ว่าโดยไรแดงโจมตี หน้าไม้ก็เสียโฉม แถมส่วนใหญ่จะโดนทีเดียวหลายต้น เพราะกว่าจะรู้ว่าเป็นไรแดงก็กระจายไปทั่ว เพราะมองไม่เห็นตัว
โลโฟที่โดนไรแดงโจมตี จะมีคราบสีเหลืองเกาะอยู่ตามผิว ทำให้ผิวเนียนๆ ของโลโฟไม่สวย และถึงแม้จะฉีดยากันไรแดงจนหาย ผิวก็จะไม่กลับมาสวยเหมือนเดิม ต้องรอจนกว่าจะโต ผิวจะเกิดใหม่ และไล่แผลลงไปอยู่ที่โคน |
- โลโฟตัวแตก คือการที่ลำต้นของโลโฟปริแตกออก ความจริงก็ไม่ได้ร้ายแรงจนถึงกับทำให้ตาย แต่ก็ทำให้โลโฟต้นนั้นหมดสวยไปเลย สาเหตุยังไม่แน่ชัด บางบทความก็บอกว่ามาจากการให้น้ำมากเกินไป เมื่อลำต้นดูดน้ำเข้าไปมากเกินหรือต้นโตเร็วเกินไป ทำให้ตัวแตก
โลโฟตัวแตก บางบทความบอกว่ามาจากให้น้ำมากเกินไป |
credit : www.pantown.com, goodpriceth.com
Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> เก้าเกออนไลน์