ถึงแม้แคคตัสจะมองดูเหมือนไม้แข็งแกร่ง เพราะมีแต่ลำต้นแข็ง ๆ ไม่มีใบ แถมมีหนามรอบเต็มต้น น่าจะเป็นเกราะป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี แต่กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น แคคตัสก็มีศัตรูพืชรุกรานได้เช่นกัน และไม่ใช่ใครที่ไหน “เพลี้ยร้าย”เจ้าเก่านั่นเอง
“เพลี้ย” เป็นแมลงศัตรูพืชตัวเล็กๆ ที่เข้าทำลายโดยการเกาะและดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอด ตามผิว ตามตุ่มหนามและราก ซึ่งเพลี้ยที่มักพบในกระบองเพชร มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ตัวที่อยากจะเน้นว่าเจอบ่อย และมักทำให้ไม้ของเราโทรม ฟีบ เหี่ยวและอาจถึงตายได้ถ้าทิ้งเอาไว้นาน ๆ คือ “เพลี้ยแป้ง”
ลักษณะของเพลี้ยแป้ง (Mealy Bug)
หน้าตาของเพลี้ยแป้งทั้ง 2 ชนิด
ลักษณะของเพลี้ยแป้งมีลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งคลุมตัว ปากเป็นแบบดูดกิน ขยายพันธุ์ได้ทั้งโดยการใช้เพศและไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis) ซึ่งเพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ มีทั้งประเภทออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) หรือออกลูกเป็นตัว (Viviparous)
เพลี้ยแป้ง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเพลี้ยหอย มี 2 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งหางสั้นและเพลี้ยแป้งหางยาว เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวอ่อนนุ่มปกคลุมด้วยไขมันและใยผงสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงศัตรูพืชที่อันตรายต่อแคคตัส มักแฝงตัวอยู่ตาม ตุ่มหนาม โคนต้น ซอกหนามและราก ถ้าเกาะอยู่ตามราก จะเกาะดูดน้ำเลี้ยงและทำลายระบบราก รากจะเปื่อย แห้งและหลุดออก ทำให้ต้นเหี่ยวเฉาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และตายในที่สุด
จุดสังเกตง่าย ๆ ของ เพลี้ยแป้งที่เกาะกินรากคือ เมื่อรื้อดินออก จะเห็นใยขาว ๆ เกาะอยู่ตามรากหรือกระจายอยู่ในดิน อาจจะเห็นตัวหรือไม่เห็นตัวก็เป็นได้ ควรทำการกำจัดออก เพราะนอกจากเพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ในกระถางที่เราพบแล้ว ส่วนใหญ่ยังจะกระจายอยู่ในยังกระถางอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้กัน และแพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานอีกมากมาย
Cactus ที่โดนเพลี้ยแป้งเล่นงาน จะฟีบลง โคนยุบ ผิวพรรณไม่สดใส และไม่เติบโต
เมื่อรื้อกระถางแคคตัสออก จะพบใยสีขาวกระจายอยู่ในดินนั่นคือรังของเพลี้ยแป้ง
ถ้าสังเกตดี ๆจะพบตัวเพลี้ยอาศัยอยู่
รังของเพลี้ยแป้งในดิน
ควรมีการเปลี่ยนดินทุก 6 เดือน เพื่อสังเกตว่ามีศัตรูพืฃกำลังรุกรานแคคตัสของเราหรือไม่
เพลี้ยจะเกาะตามรากและดูดน้ำเลี้ยงทำให้ต้นฟีบ เหี่ยวและโทรม
การกำจัด ตัดรากให้กุดตามภาพ ฉีดน้ำไล่เพลี้ยออก หรือใช้ยา
วางผึ่งในร่ม และนำลงปลูกในดินใหม่
ขอบคุณรูปภาพ CHOW Cactus
เพลี้ยญี่ปุ่น (Cochineal Insect)
เพลี้ยอีกชนิดหนึ่งที่แนะนำว่าควรระวังสำหรับการเลี้ยงแคคตัสคือ เพลี้ยญี่ปุ่น มีข้อมูลว่า เพลี้ยญี่ปุ่นเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งพบระบาดในวงการแคคตัสบ้านเราเมื่อไม่นาน สันนิษฐานว่าติดมาจากไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศจีนและญี่ปุ่น มักจะเกิดกับไม้ในสกุล แอสโตร อริโอ ยิมโน เมโล
เพลี้ยญี่ปุ่นรุมกินยอดแคคตัส (เมโลฟ้า)
เมื่อเขี่ยดูที่ยอดจะพบตัวเพลี้ยสีชมพูอมม่วง
เพลี้ยญี่ปุ่นทำลายยอดกินลึกลงไปในเนื้อ ทำให้แคคตัสเสียโฉม ใช้เวลาหลายปีกว่าจะไล่ลง
โดยเพลี้ยชนิดนี้จะแฝงตัวอยู่บริเวณตุ่มหนามบนยอด ลักษณะเป็นปุยสีขาวฟูขึ้นมา ถ้าไม่สังเกตให้ดี จะคิดว่าเป็นขนที่ตุ่มหนาม (Alero) ซึ่งเป็นลักษณะปกติของแคคตัสหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าก้อนปุยสีขาวใหญ่เร็วขึ้นอย่างผิดปกติ ให้ระวังว่าจะเป็นเพลี้ยญี่ปุ่น เมื่อลองเขี่ยดูจะพบเป็นตัวเพลี้ยสีชมพูอมม่วง ซึ่งมักอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ลักษณะการทำลายจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ยอดเสีย และไม้หยุดการเจริญเติบโต ผิวบริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นตำหนิ มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ไม้จะเสียโฉม ไม่สวย แม้จะรักษาหายแล้วก็จะเป็นรอยแผลเป็น จนกว่าจะไล่ลง ซึ่งใช้เวลาหลายปี
การป้องกัน
- หมั่นสังเกตไม้ที่เลี้ยงว่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ แคคตัสที่เจริญเติบโตตามปกติ จะสังเกตได้จาก หนามสดใสแข็งแรง ผิวเงาเป็นมันไม่ซีดหยาบ มีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ ถ้าไม้ฟีบ ผิวแห้ง โคนยุบ หนามดูไม่สดใส แสดงว่าโดนโจมตีจากศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง
- หมั่นเปลี่ยนดินทุก 6 เดือน การเปลี่ยนดินจะทำให้รู้ว่ามีศัตรูพืชพวกเพลี้ยแป้งซ่อนอยู่ในดินหรือไม่
- โรงเรือนหรือที่วางกระบองเพชรควรมีความสะอาด แห้ง ไม่ชื้นแฉะ
- ระวังและสังเกต “มด” ในโรงเรือน เพราะมดเป็นตัวการสำคัญที่พาเอาเพลี้ยมายังต้นไม้ของเรา
- เวลาซื้อไม้มาใหม่ ก่อนนำเข้าโรงเรือนควรมีการพักไม้ดูอาการว่ามีโรคหรือเพลี้ยติดมากับไม้หรือไม่ หรือเป็นไปได้ควรเปลี่ยนดิน หรือแช่น้ำยากำจัดเพลี้ยและเชื้อรา
การกำจัดเพลี้ย
- หากเลี้ยงไม้จำนวนไม่มาก
- ถอดกระถาง สะบัดดินออก
- ใช้น้ำฉีดตัวเพลี้ยให้หลุดออก
- ตัดราก วางผึ่งในที่ร่ม 2-3 วัน แล้วลงปลูกในดินใหม่
- นำดินที่มีเพลี้ยไปกำจัด เพราะเพลี้ยอาจแพร่พันธุ์อยู่ในดิน
- ถ้าไม้มีจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงชนิดที่ใช้กับเพลี้ยแป้ง ซึ่งมีหลายยี่ห้อ เช่น
- “พอส” (คาร์โบซัลแฟน) เป็นยากำจัดศัตรูพืชที่มีความรุนแรงและมีกลิ่นฉุน การใช้ยาจำพวกนี้ ผู้ใช้ควรระวังไม่ให้สูดดมหรือสัมผัสโดนผิวหรือเข้าตา และการใช้ยังเสี่ยงกับการที่ผิวไม้จะไหม้ จึงควรผสมตามสัดส่วนที่ระบุไว้
- Gtargle-G (สตาเกิลจี) ลักษณะเป็นเกร็ดสีม่วง ใช้ผสมดินปลูกหรือโรยใส่กระถาง ข้อดีของ Stargle-G คือเวลาที่รดน้ำ จะค่อยละลาย
- เอราท็อกซ์ (ไทอะมีทอกแซม) ใช้ได้ทั้ง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยญี่ปุ่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งที่ราก กลิ่นไม่ฉุน อัตราการใช้น้อย จึงลดอันตรายต่อคนและสัตว์ ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่ว เพื่อเป็นการป้องกันและตัดวงจรการระบาด สมัครบาคาร่าไม่มีขั้นต่ำ
Credit : ThaiWikipedia, www.facebook.com/SirinartCenter, www.facebook.com/marcactus, chowcactus.blogspot.com เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์
Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ