การผสมเกสรแคคตัส
การขยายพันธ์แคคตัสทำได้หลายวิธี เช่น การผสมเกสร การชำหน่อ การกราฟ ซึ่งในวันนี้จะมาพูดถึงการผสมเกสรแคคตัส
แคคตัส เป็นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) คือมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ในหนึ่งดอกจะมีเกสรตัวเมียเพียงอันเดียวอยู่ตรงกลาง ส่วนเกสรตัวผู้จะมีหลายอันล้อมอยู่รอบเกสรตัวเมียและตรงปลายเกสรจะเป็นภู่ มีละอองเกสรเกาะอยู่
การผสมเกสรแคคตัสคือ นำเกสรตัวผู้ผสมกับเกสรตัวเมียจนทำให้เกิดเป็นตัวอ่อน (เมล็ด) อยู่ในรังไข่ ซึ่งเรียกว่า “ฝัก” เมื่อเมล็ดโตเต็มที่ ฝักจะสุกเป็นสีชมพูหรือชมพูเข้มออกม่วง แต่บางสายพันธ์แม้เมล็ดจะสุกแล้วแต่ฝักก็ยังเป็นสีเขียว สามารถนำเมล็ดในฝักที่สุกแล้วไปเพาะเป็นต้นอ่อนต่อไป (ดูวิธีการเพาะเมล็ด)
นอกจากแมลงจะทำหน้าที่ในการผสมเกสรตามธรรมชาติแล้ว เราผู้เลี้ยงก็สามารถผสมเกสรแคคตัสได้โดยคีบหรือตัดเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปสัมผัสเพื่อผสมกับเกสรตัวเมียในอีกต้นหนึ่ง เป็นการผสมข้ามต้นซึ่งมีโอกาสติดฝักได้ดีกว่าการผสมในต้นเดียวกัน
ข้อควรรู้ในการผสมเกสรแคคตัส
- ความสมบูรณ์ของเกสรมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ติดฝัก หากยอดเกสรตัวเมียที่แห้งมาก ไม่มีน้ำเมือกที่เป็นตัวจับเกสรตัวผู้ อาจจะทำให้โอกาสติดน้อยลง ละอองเกสรตัวผู้ที่เยอะ ยิ่งเป็นผลดี
- การผสมเกสรแคคตัสแบบข้ามต้น มีโอกาสติดฝักมากกว่าการผสมเกสรในต้นเดียวกัน
- แคคตัสแต่ละสกุล/สายพันธ์ มีช่วงเวลาบานของดอกแตกต่างกัน เช่น เช้า,สาย,กลางคืน และระยะเวลาในการบานไม่เท่ากัน เช่นบางชนิดบานวันเดียว บางชนิดบาน 2-3 วัน หากต้องการผสมข้ามต้นจำเป็นต้องมีคู่ผสม จึงต้องสังเกตเวลาบานพร้อมกันของคู่ผสมเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการผสมเกสร
- ดอกที่บานหลายวันแล้วมีโอกาสผสมติดน้อยกว่าดอกที่บานวันแรก
- แคคตัสบางสกุล/สายพันธุ์ สามารถติดฝักได้เอง โดยไม่ต้องผสมเกสร เช่น Notocactus, Melocactus, Frailea, Coryphantha
- แคคตัสสกุลเดียวกันแต่คนละสายพันธุ์สามารถนำมาเข้ากันได้ เช่น แอสโตรฯ นูดัม สามารถเข้ากับ แอสโตรฯ มายริโอ
- ในการผสมเกสรแคคตัสต้นหนึ่ง ๆ นั้น สามารถเป็นได้ทั้งพ่อและแม่ โดยการเอาเกสรคู่ตรงข้ามมาเข้ากัน เช่น เอาเกสรตัวผู้ต้น A ไปเข้ากับเกสรตัวเมียต้น B และเอาเกสรตัวผู้ต้น B ไปเข้ากับเกสรตัวเมียต้น A ซึ่งจะทำให้ทั้งต้น A และ B ติดฝักได้
- แคคตัสบางสกุล แม้ดอกจะหุบไปแล้ว ก็สามารถผสมเกสรได้ เช่น ยิมโน
- การผสมเกสรแคคตัสที่มีดอกขนาดเล็ก เช่น Mammillaria จะใช้พู่กันหรือ cutton buds ปั่นดอกแทนการคีบเกสร ซึ่งบางครั้งการปั่นในดอกเดียวกันก็สามารถทำให้ติดฝักได้ หรือบางต้นก็ติดฝักเองโดยไม่ต้องช่วยผสมเกสร
สังเกตอย่างไรว่าแคคตัสติดฝักหรือไม่
สำหรับสายพันธุ์ยิมโน (Gymnocalycium) หลังจากการผสมเกสร 7-15 วัน สังเกตว่าถ้าก้านดอกยังติดอยู่ไม่ร่วงไป ถึงแม้ว่ากลีบดอกอาจจะเหี่ยวไปแล้ว และก้านดอกมีการขยายป่องออก แสดงว่าผสมติดและเมล็ดกำลังเจริญเติบโตในรังไข่
บริเวณก้านดอกของยิมโนเป็นส่วนของรังไข่ ซึ่งหากการผสมเกสรได้ผล เมล็ดจะเจริญเติบโตอยู่ในรังไข่ ทำให้ก้านดอกขยายออกเป็นกระเปาะมองเห็นชัดเจน ซึ่งต้องรอจนกว่าฝักจะสุก (ใช้เวลาประมาณ 3-6 อาทิตย์ แล้วแต่สายพันธ์) จึงจะเก็บและนำไปเพาะเมล็ดต่อไป
ก้านดอกของยิมโนเป็นส่วนของรังไข่ ซึ่งหากผสมติด เมล็ดจะเจริญเติบโตอยู่ภายใน และเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข็มออกม่วงเมื่อฝักสุก |
สำหรับสายพันธ์อื่น เช่น แมมมิลลาเรีย (Mammillaria), ช้าง (Coryphantha Elephantidents), เมโล (Melocactus) ซึ่งไม่มีก้านดอกยาวออกมาเหมือนยิมโน เมื่อติดฝัก ฝักจึงจะโผล่พ้นลำต้นออกมา มองเห็นได้ชัดเจน
แมมนกฮูก (Mammillaria microthele/Mammillaria Perbella) ที่ติดฝักเองโดยไม่ได้ผสม ฝักมีสีชมพูเข้ม สีสวยจนบางครั้งคิดว่า ช่วงไม่มีดอก ชมฝักไปพรางก่อนก็น่ารักดี | |
ฝักของ Coryphantha Elephantidens หรือคนไทยจะเรียกสั้น ๆ ว่า “ช้าง” ช้างสามารถติดฝักเองโดยไม่ต้องผสมเกสร ฝักของช้างเป็นสีเขียว แม้เมล็ดจะสุกพร้อมนำไปเพาะแล้วก็ตาม |
เคตดิต : www.wismag.net
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตเว็บตรง