กระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา พบมากในพื้นที่แถบทะเลทราย แต่ก็มีบางประเภทที่เติบโตอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีรูปทรงแปลกตา มีทั้งที่มีหนามและไม่มีหนาม มีดอกและสีสันที่แตกต่างกันไปตามสายพันธ์ เนื่องจากการดำรงชีวิตอยู่ใสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งทุรกันดาร บางช่วงที่ฝนไม่ตกเป็นเวลานาน ทำให้ กระบองเพชร ปรับสภาพของตัวเองให้สามารถเก็บสะสมน้ำไว้ภายในลำต้นมากถึง 80–90 % ทำให้ลำต้นอวบอ้วนและสั้นลง รากส่วนมากจะอยู่ใกล้ผิวดิน ไม่หยั่งลึกลงไปมากนักเพื่อดูดจับน้ำและความชื้นในอากาศได้ง่ายและที่สำคัญคือ ลดขนาดใบไม้ให้เล็กลงและเปลี่ยนรูปไปเป็นหนามจำนวนมาก ช่วยพรางความร้อนของแสงอาทิตย์เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้น
Cereus peruvianus
สายพันธุ์กระบองเพชร
ปัจจุบันมีรายงานว่าพืชในกลุ่มกระบองเพชรมีอยู่ประมาณ 50-150 สกุลมากกว่า 2,000 ชนิด โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ 8 กลุ่ม (ตามวิธีของ Gordon Rowley จากหนังสือ The Illustrated Encyclopaedia of Succulents)
- กลุ่ม Pereskia มีใบแท้จริง ไม่มีหนามหรือขนแข็งปลายงอ เมล็ดสีดำ และมีเยื่อหุ้มเมล็ด (aril) ได้แก่สกุล Maihuenia และ Pereskia
- กลุ่ม Opuntia ใบมีขนาดเล็ก มีหนามหรือขนแข็งปลายงอ และมีเยื่อหุ้มเมล็ด ได้แก่ สกุล Opuntia , Pereskiopsis , Pterocactus , Quiabentia และ Tacinga
- กลุ่ม Cereus ไม่มีใบ เมล็ดมีสีดำหรือสีน้ำตาล ต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามมากมาย ส่วนโคนดอกด้านนอกอาจมีหรือไม่มีหนามปกคลุม ได้แก่สกุล Armatocereus , Arrojadao , Bergerocactus , Brachycereus , Browningia , Calymmanthium , Carnegiea , Cephalocereus , Cereus , Corryocactus , Dendrocereus , Echinocereus , Erdisia , Escontria , Eulychnia , Harrisia , Jasminocereus , Lemaireocereus , Lophocereus , Machaerocereus , Micranthocereus , Monvillea , Myrtillocactus , Neoraimondia , Nyctocereus , Pachycereus , Peniocereus , Pilosocereus , Rathbunia , Stetsonia และ Wilcoxia
- กลุ่ม Echinopsis คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่ต้นมีขนาดเล็กกว่าและผิวด้านนอกของดอกที่มีลักษณะเป็นหลอดมักมีขนหรือเกล็ดสั้นๆ ปกคลุม ได้แก่สกุล Acanthocalycium , Arequipa , Arthrocereus , Borzicactus , Cephalocleistocactus , Chamaecereus , Cleistocactus , Denmoza , Echinopsis , Espostoa , Haageocereus , Hildewintera , Lobivia , Matucana , Mila , Oreocereus , Oraya , Rebutia , Sulcorebutia , Thrixanthocereus , Weberbauerocereus และ Weingartia
Weingartia | Echinopsis | Rebutia |
5. กลุ่ม Hylocereus คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่เป็นพวกพืชอิงอาศัย (epiphytic) มีระบบรากอากาศ ต้นเป็นสัน หนามบอบบาง ได้แก่สกุล Aporocactus , Cryptocereus , Deamia , Discocactus, Epiphyllum , Heliocereus , Hylocereus , Mediocactus , Nopalxochia , Pfeiffera , Rhipsalidopsis , Rhipsalis , Schlumbergera , Selenicereus , Weberocereus, Wittia และ Zygocactus
6. กลุ่ม Melocactus คล้ายกับกลุ่ม Neopoteria โคนหลอดดอกมีปุยหรือไม่มีก็ได้ แต่จะมีหนามขึ้นปกคลุม ดอกเกิดบนเซฟาเลียมยกเว้นสกุล Buiningia ที่ดอกจะเกิดที่ด้านข้างของเซฟาเลียม ได้แก่ Buiningia , Discocactus และ Melocactus
Melocactus | Discocactus |
7. กลุ่ม Neopoteriaต้นขนาดค่อนข้างเล็ก ทรงกลมแป้นหรือทรงกระบอก ต้นเป็นสันเห็นได้ชัดเจน โคนหลอดดอกมีปุยนุ่มและมีหนาม ได้แก่สกุล Austrocactus , Blossfeldia , Eriosyce , Frailea , Neoporteria , Notocactus , Porodia , Uebelmannia และ Wigginsia
Parodia magnifica | Notocactus graessneri. |
8. กลุ่ม Echinocactus แต่ดอกจะเกิดบริเวณตอนกลางของด้านบนสุดของต้น และไม่มีเซฟาเลียม ได้แก่สกุล Ancistrocactus , Ariocarpus , Astrophytum , Aztekium , Cochemiea , Coloradao , Copiapao , Coryphantha ,Dolichothele , Echinocactus , Echinomastus , Escobaria , Ferocactus , Gymnocalcium , Hamatocactus , Homolocephala , Islaya , Leuchtenbergia , Lophophora , Mamillopsis , Mammillaria , Neobesseya , Neogomesia , Neolloydia , Ortegocactus Pediocactus , Pelecyphora , Sclerocactus , Solisis , Strombocactus , Thelocactus , Toumeya และ Utahia
Echinocactus | Astrophytum | Coryphantha |
Gymnocallycium | Mammillria Plumosa | Mammillaria Candida |
อย่างไรก็ดี ในบ้านเราเวลาที่พูดถึงกระบองเพชร เรามักจะเรียกชื่อสกุลโดยไม่ได้อ้างอิงถึงกลุ่มตามรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น เช่น Gymnocallicium, Mammillaria, Lophophola, Astorphytum เป็นต้น
ลักษณะรูปทรงของกระบองเพชร
Melocactus
กระบองเพชร เป็นไม้อวบน้ำ เป็นพืชในวงศ์ CACTACEAE มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอวบน้ำ สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้น,ในเซลล์เนื้อเยื่อหรือในใบ ผิวของลำต้นเคลือบด้วยขี้ผึ้ง (wax) มีหนามตามลำต้น ซึ่งเป็นส่วนของใบที่ลดรูปเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หนามอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในบริเวณตุ่มหนาม (areole) ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ตามแนวสันพู (rib) ของลำต้น ตุ่มหนามนี้ยังสามารถเกิดขนที่มีลักษณะแข็ง กิ่งก้านและตาดอกได้อีกด้วย ส่วนดอกของ กระบองเพชร นั้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน มีรังไข่อยู่ต่ำกว่าส่วนประกอบอื่นของดอก (inferior ovary) ผลมีลักษณะนุ่ม ฉ่ำน้ำ (berry fruit)
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบองเพชร
- โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามคือเป็นกระบองเพชร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระบองเพชรบางสกุล เช่น LOPHOPHORA หรือ ASTROPHYTUM บางชนิดก็ไม่มีหนามแต่ถูกจัดว่าเป็น กระบองเพชร
- ในขณะที่ไม้อวบน้ำ ( succulent ) บางสกุล เช่น EUPHOBIA ก็มีหนามแต่ก็ไม่จัดว่าเป็นกระบองเพชร
- พืชที่จัดว่าเป็นกระบองเพชร หรือจัดอยู่ในวงศ์ CACTACEAE นั้นเป็นไม้ยืนต้นและจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ตุ่มหนาม” (Areole) ซึ่งจะพบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่และเรียงไปตามแนวสันพู
- ตุ่มหนาม (Areole) ยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย
- ส่วนในไม้อวบน้ำประเภทที่มีหนาม (EUPHOBIA) นั้นหนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบไปรอบๆ ต้น และไม่พบ “ตุ่มหนาม” เหมือนกระบองเพชร
- พืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์
- ในกลุ่มของ CACTACEAE นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ
- ส่วนกลุ่ม EUPHOBIA ดอกจะไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกและรังไข่จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ
จบลงแล้วสำหรับ ต้นกำเนิดและประเภทของกระบองเพชร (แคคตัส Cactus) หวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคน วันนี้ cactuswheel ต้องขอลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่
https://www.facebook.com/AirakCactus/posts/1722137834482668/
https://sites.google.com/site/suppawitssnon/home/say-phanthu-k-khae-khtas
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> บาคาร่า